กก สมาคม ศ.ดร. ประยุทธ เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง Modern Sensor Technology
ในงาน Arduino Education Day Thailand 2023
ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้าย EEAAT มีเป้าหมายพัฒนาความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์
ให้กับเยาวชนของชาติ ด้วยหวังว่า น้อง ๆ จะโตขึ้นไปพัฒนาชาติ
ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
"วิทยาศาสตร์มองที่เหตุผล....วิศวกรรมศาสตร์มองที่เป้าหมาย"
.....
วันนี้ท่านอาจารย์ประยุทธ์มาพูดเรื่องเซนเซอร์ ทำให้ได้ความรู้ เห็นการเชื่อมโยงมากมาย อาจารย์ยกตัวอย่างงานที่ประยุกต์ใช้จริง เช่น ความชื้นในข้าว ความชื่นในโบราณสถานต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถติดตั้งเซนเซอร์ลงไปได้ และบอร์ดสมองกลฝังตัวก็ยังสามารถใช้บอร์ดอานูโน่ได้เช่นกัน
การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ระบบต่าง ๆ วิศวกรพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำได้ตามเป้าหมาย นำเซนเซอร์ต่าง ๆ มาประกอบ แต่หากพิจารณาถึงการทำงานของเซนเซอร์ต่าง ๆ นั้นต้องทำตามหลักวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น งานบางชนิดเราคิดว่านำเซ็นเซอร์มาใช้ได้ แต่พอทำจริง ๆ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เราต้องออกแบบเซนเซอร์ขึ้นมาเอง และการออกแบบนี้ละครับ ต้องนำความรู้วิทยาศาสตร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรียนเรียนเก็บไว้มาใช้แบบเต็ม ๆ ไม่ว่าจะเป็นสนามแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย
เมื่อเราพัฒนาระบบมาใช้กับสิ่งใดวิทยาศาสตร์ในสิ่งนั้นเราต้องรู้ด้วย เรามาประยุกต์กับข้าว เราต้องรู้วิทยาศาสตร์ของข้าว ความชื้นมาก ความชื้นน้อยส่งผลต่อข้าวอย่างไร ลักษณะของข้าวเป็นอย่างไร และบางครั้งเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็ยังใช้ไม่ไ้ด้ คณิตศาสตร์ต่าง ๆ ต้องนำมาช่วยในการประมวลผลด้วย
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนั้นวิชาพื้นฐานการคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเราต้องรู้ มีความรู้เก็บไว้ แล้วนำมาใช้เมื่อเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันนั้นต้องการใช้งาน
วิศวกรอาจศึกษาสิ่งต่าง ๆ แล้วพัฒนาระบบนำเซนเซอร์ต่าง ๆ มาใช้ได้ นำความรู้มาเชื่อมโยง แต่ถ้าหากเรามุ่่งไปที่การสร้างเซนเซอร์นั้นพื้นฐานหลายเรื่องจะถูกนำมาใช้งาน อย่างเช่น เซนเซอร์วัดความเอียงนั้นทำงานโดยสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา แล้วมีอุปกรณ์เล็ก ๆ วางอยู่ในแนวของแรงโน้มถ่วงโลก และเมื่อเซนเซอร์นี้เอียง ก็จะทำให้สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้าที่จับได้เปลี่ยนไป ระบบจึงคำนวณความเอียงออกมาได้นั้นเอง